
ทีมงานช่างไฟฟ้าดึงเมนไฟฟ้า 3 เฟสสายเบอร์ 95 ระบบโซล่าเซลล์ กับหม้อแปลงไฟฟ้า500kVA 3 Phase 22 KV ระยะทางกว่า 1,500 เมตร ที่แม่ริม จ.เชียงใหม่
ตุลาคม 29, 2018ทีมงานช่างไฟฟ้าดึงเมนไฟฟ้า 3 เฟสสายเบอร์ 95 ระบบโซล่าเซลล์ กับหม้อแปลงไฟฟ้า500kVA 3 Phase 22 KV ระยะทางกว่า 1,500 เมตร ที่แม่ริม จ.เชียงใหม่
-งานเดึงเมนไฟฟ้า ระบบโซล่าเซลล์ ใช้สายเบอร์ 95 ยาวกว่า 1500เมตร เสาไฟ 40 ต้น ใช้เวลาทำงาน 7-15วัน
ติดต่อที่: 088-654-4163 พี่หนิง , 098-696-4544 พี่ต้อม
เวปผลงานมากมาย: www.cctvanditservice.com
ก่อนการตัดสินใจซื้อแผงโซลาร์เซลล์ เราควรทราบถึงระบบที่เราต้องการเพื่อให้การลงทุนที่คุ่มค่าและเหมาะสม ผู้ใช้ควรต้องรู้ ความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวันและสถานที่ติดตั้ง จึงจะสามารถคำนวณส่วนประกอบของระบบได้ ซึ่งปกติเราควรว่าอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่ละชนิดใช้พลังงานเท่าใด (วัตต์ หรือ Watt) และเราต้องการเปิดใช้งานนานกี่ชั่วโมงต่อวัน รวมถึงในกรณีที่แผงเซลล์แสง อาทิตย์ไม่สามารถรับแสงเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ ซึ่งต้องใช้พลังงานสำรองที่ได้จากแบตเตอรี่ว่าสามารถใช้ได้นานเท่าใด
ตัวอย่าง บ้านหลังหนึ่งต้องใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ไปใช้กับหลอดไฟ ฟลูออเรสเซนต์ชนิดมีบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ในตัว จำนวน 2 ดวง (18W X 2 ) เป็นเวลา 6 ชั่วโมงต่อวัน, โทรทัศน์สี 21 นิ้ว (120 W) ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อวัน
สิ่งที่ต้องใช้ในระบบเซลล์แสงอาทิตย์ประกอบด้วย
1) เซลล์แสงอาทิตย์
2) เครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้า (Charge Controller)
3) แบตเตอรี่ (Battery)
4) เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)
สูตรการคำนวณหาขนาดของระบบ
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)
จะทำหน้าที่แปลงไฟฟ้า จากแบตเตอรี่ 12 โวลท์ เป็น 220 โวลท์ ซึ่งควรมีขนาดกำลังเพียงพอที่จะจ่ายไฟฟ้าให้แก่อุปกรณ์ จะได้
ขนาด ของเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า = (18 W X 2 ดวง) + (120 W)
= 156 W
ดังนั้นขนาดของเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า ควรมีขนาด 156 W แต่ควรมีขนาดสูงกว่า สำหรับขนาดที่เหมาะควรใช้ ขนาด 200 W ซึ่ง ใช้กับแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์
แบตเตอรี่ (Battery)
จะทำหน้าที่เก็บสำรองไฟฟ้า ในเวลาที่แผงโซลาร์ไม่สามรถรับแสงได้ (เวลากลางคืน) แบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับการใช้งานในระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ควรใช้แบตเตอรี่ชนิด Deep Cycle แต่จะมีราคาสูง ซึ่งเราสามารถเลือกใช้กับแบตเตอรี่ชนิดอื่นแทนได้ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ หรือ แบตเตอรี่แห้ง (Sealed Lead Acid Battery) ได้ ซึ่งจะมีราคาถูกกว่า
ขนาดกระแส/ชั่วโมง ของแบตเตอรี่สามารถคำนวณได้จาก
Ah = ค่าพลังงานรวม / [แรงดันไฟฟ้าแบตเตอรี่ X 0.6 (% การใช้งานกระแสไฟฟ้าที่อยู่ในแบตเตอรี่) X 0.85 (ประสิทธิภาพของ Inverter)]
= {( 18W X 2 ดวง) X 6 ชั่วโมง} + {(120 W) X 3 ชั่วโมง} / [12 โวลต์ X 0.6 X 0.85]
= 94.117 Ah
ดังนั้นขนาดของแบตเตอรี่ที่ใช้จะเป็นขนาด 12 โวลต์ 96.08 Ah หรือมากกว่า ฉะนั้นควรใช้ขนาดรุ่น 12 โวลต์ 105Ah หรือ 125Ah
เครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้า (Charge Controller)
จะทำหน้าที่ควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่ จะทำให้ยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ ซึ่งต้องมีขนาดเท่ากับหรือมากกว่า กระแสไฟฟ้า (Amp) ที่ไหลผ่านจากแผงโซลาร์เซลล์สู่แบตเตอรี่ดังนั้น ขนาดของเครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้า ควรมีขนาดเกินกระแสไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์
เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell)
ขนาดของแผง = ค่าการใช้พลังงานรวม / 5 ชั่วโมง (ปริมาณแสงอาทิตย์ที่น่าจะได้ใน 1 วัน)
= {(18 W X 2 ดวง) X 6 ชั่วโมง} + {(120 W) X 3 ชั่วโมง} / 5 ชั่วโมง
= 115.2 Ah
ดังนั้น ขนาดของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ต้องใช้ คือ ขนาด 12 โวลต์ 115.2 วัตต์หรือมากกว่า
หมายเหตุ: ควรมีพลังงานสำรองไว้ใช้ในกรณีที่แผงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่สามารถผลิตพลังงาน ไฟฟ้าได้ เช่น เวลาที่ฝนตกหรือไม่มีแสงอาทิตย์ ก็ควรจะเพิ่มขนาดของแผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่เพื่อใช้ในการเก็บพลังงาน สำรอง
***********************************************************************************************************************************
1. หลักการคำนวณหาขนาดแผงโซล่าเซลล์
ขนาดแผงโซล่าเซลล์ คือ ขนาดของ Watt นะครับ ไม่ใช่ขนาดกว้าง-ยาวของแผง โดยตัวแปรที่จะเป็นผู้กำหนดขนาด
แผงโซล่าเซลล์คือ “ค่า Watt รวมของเครื่องใช้ไฟฟ้า”ที่จะใช้ในบ้านในแต่ละวันครับ
เริ่มต้น คือ ดูเสียก่อนว่าเราอยากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้างในบ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ตรงจุดนี้แสดงถึงความต้องการของ
แต่ละคนที่แตกต่างกัน และเป็นตัวแปรสำคัญเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย เอาเป็นว่า ใครที่มีความต้องการความสดวกสบายเยอะ
ก็ต้องยอมจ่ายมากหน่อยเท่านั้นเองครับ ตัวอย่างการคำนวณ
ตัวอย่างที่ 1
– ทีวี 14 นิ้ว 1 เครื่อง เปิดประมาณ 5 ชั่วโมงต่อวัน
– หลอดไฟตะเกียบ 3 หลอด / เปิดประมาณ 4 ชั่วโมง จำนวน 2 หลอด , เปิดใว้ทั้งคืนจำนวน 1 หลอด
– ชาร์จโทรศัพท์ ชาร์จไฟฉาย
ความต้องการไฟฟ้าสำหรับ
– วิทยุเครื่องเล็กๆ
การคำนวณ
– ทีวี 14 นิ้ว ต้องการกำลังไฟประมาณ 50 Wต่อชั่วโมง เปิด 5 ชั่วโมงต่อวัน ต้องใช้กำลังไฟทั้งหมด 50 x 5 = 250 W ต่อ วัน
– พัดลมตั้งพื้น ต้องการกำลังไฟประมาณ 50 Wต่อชั่วโมง เปิด 8 ชั่วโมงต่อวัน ต้องใช้กำลังไฟทั้งหมด 50 x 8 = 400 W ต่อ วัน
– หลอดตะเกียบ ยกตัวอย่างหลอด 18 W ต้องการกำลังไฟทั้งหมด (18 x 2 x 4)+(18 x 1 x 12) = 360 W ต่อ วัน
– เครื่องชาร์จโทรศัพท์ชาร์ไฟฉาย คิดรวมๆ 50W ต่อวัน
– วิทยุเล็ก คิดรวม 50W ต่อวัน
นำค่ารวมทั้งหมดมารวมกัน ดังนี้ 250 + 400 + 360 + 50 + 50 = 1,110 W ต่อวัน
นั่นคือ เราต้องการกำลังไฟฟ้าใช้ในบ้าน 1,110W ต่อวัน
ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = กำลังไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน / ชั่วโมงแดด (เอาซัก 6 ชั่วโมงต่อวันละกันครับ)
ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = 1,110 / 6 = 185 W
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณ 9,000-16,000 บาท แตกต่างกันตามคุณภาพของแผงโซล่าเซลล์ครับ
ตัวอย่างที่ 2
ความต้องการไฟฟ้าสำหรับ
– ทีวี 21 นิ้ว 1 เครื่อง เปิดประมาณ 6 ชั่วโมง/วัน
– พัดลมตั้งพื้น 2 เครื่อง เปิดประมาณ 8 ชั่วโมง/วัน/เครื่อง
– หลอดไฟตะเกียบ 12 หลอด / เปิดประมาณ 5 ชั่วโมง จำนวน 8 หลอด , เปิดใว้ทั้งคืนจำนวน 2 หลอด
– ตู้เย็น 5-7 คิว
– หม้อหุงข้าว
– ปั๊มน้ำขนาดเล็กใช้ในบ้าน
– คอมพิวเตอร์
– ชาร์จโทรศัพท์ ชาร์จไฟฉาย
การคำนวณ
– ทีวี 21 นิ้ว 1 เครื่อง เปิดประมาณ 6 ชั่วโมง/วัน (80 W x 6 = 480 W)
– พัดลมตั้งพื้น 2 เครื่อง เปิดประมาณ 8 ชั่วโมง/วัน/เครื่อง (50 W x 2 x 8 = 800 W)
– หลอดไฟตะเกียบ 12 หลอด / เปิดประมาณ 5 ชั่วโมง จำนวน 8 หลอด , เปิดใว้ทั้งคืนจำนวน 2 หลอด (18 W x 8 x 5)+(18 W x 2 x 12) = 1152 W
– ตู้เย็น 5-7 คิว (100 W x 10 = 1000 W) ตู้เย็นไม่ได้ทำงานตลอดเวลา เลยคิดที่ 10 ชั่วโมงต่อวันครับ
– หม้อหุงข้าว คิดรวม 1500 W
– ปั๊มน้ำขนาดเล็กใช้ในบ้าน คิดรวม 250 W
– คอมพิวเตอร์ คิดรวม 300 W
– ชาร์จโทรศัพท์ ชาร์จไฟฉาย คิดรวม 50 W
นำค่ารวมทั้งหมดมารวมกัน ดังนี้ 480 + 800 + 1152 + 50 + 1000 + 1500 + 250 + 300 + 50 = 5,582 W ต่อวัน
นั่นคือ เราต้องการกำลังไฟฟ้าใช้ในบ้าน 5,582 W ต่อวัน
ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = กำลังไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน / ชั่วโมงแดด (เอาซัก 6 ชั่วโมงต่อวัน)
ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = 5,582 / 6 = 930.33 W
นั่นคือเราต้องใช้แผงโซล่าเซลล์อย่างน้อย 930 W ขึ้นไปครับ
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณ 45,000 – 80,000 บาท แตกต่างกันตามคุณภาพของแผงครับ
2. หลักการคำนวณเครื่องควบคุมการชาร์จ
สำหรับเครื่องควบคุมการชาร์จนั้น ส่วนมากเราจะคำนวณหาค่า A ที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ในระบบได้
ตัวแปรที่จะเป็นตัวกำหนดคือ
1. ขนาดของแผงโซล่าเซลล์ ทั้งค่า W , A และ V โดยปกตินั้นค่าทั้ง 3 จะสัมพันธ์กันอยู่แล้ว เราอาจใช้แค่ W และ V
มาใช้ในการคำนวณออกแบบก็ได้ โดยใช้สูตร W = V x A หรือ A = W / V
2. ขนาดความต้องการ A ของ Lode ที่จะนำมาต่อเข้ากับเครื่องควบคุมนี้
จาก ตัวอย่างที่ 1 ที่ต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ขนาด 185 W เราสามารถคำนวณหาขนาดเครื่องควบคุมการชาร์จได้ดังนี้
– จากสูตร A = W / V กรณีที่เป็นแผงโซล่าเซลล์ 12V แทนค่าลงสูตร A = 185 / 12 = 15.4
นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 15.4 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 20 A 12 V ครับ
นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 7.7 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 10 A 24 V ครับ
จาก ตัวอย่างที่ 2 ที่ต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ขนาด 930 W เราสามารถคำนวณหาขนาดเครื่องควบคุมการชาร์จได้ดังนี้
นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 77.5 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 80 A 12 V ครับ
นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 38.7 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 40 A 24 V ครับ
นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 19.3 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 20 A 48 V ครับ
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแผงโซล่าเซลล์แผงใดเป็นแผงระบบ 12 V หรือ 24 V
ให้ใช้โวลต์มิเตอร์วัดครับ หรือง่ายๆให้ดูใต้แผงโซล่าเซลล์นั่นแหละ ตรงค่า Voc ครับ
– แผงโซล่าเซลล์ระบบ 12 V ค่า Voc ระบุช่วง 18 V – 23 V หากใช้มิเตอร์วัดแผงโซล่าเซลล์ตอนมีแดดส่อง
จะอ่านค่าได้ประมาณ 18 V – 23 V เช่นกัน วัดในร่มชายคาที่ด้านนอกยังมีแดดอยู่หรือตอนเช้าตรู่ที่ยังไม่มีแดด(แต่ไม่มืด)
จะอ่านค่าได้ประมาณ 16 V – 18 V (ถ้าอ่านค่าได้น้อยกว่านี้ถือว่าแผงโซล่าเซลล์คุณภาพต่ำมาก หรือ เสียไปแล้ว)
– แผงโซล่าเซลล์ระบบ 24 V ค่า Voc ระบุช่วง 36 V – 45 V หากใช้มิเตอร์วัดแผงโซล่าเซลล์ตอนมีแดดส่อง
จะอ่านค่าได้ประมาณ 36V-45V เช่นกันครับ
3. การคำนวณขนาดเครื่องแปลงไฟ (Inverter)
เบื้องต้นนั้นท่านต้องทราบดีว่า ระบบโซล่าเซลล์ของท่านเป็นระบบอะไร 12 V , 24 V หรือ 48 V เพราะจะเป็นตัวแปรแรกใน
การเลือกใช้ Inverter ส่วนอีกตัวแปรก็คือค่า W รวมของ Lode ที่คาดว่าจะมีโอกาสเปิดพร้อมกัน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง แล้วเผื่อใว้
อีก 3-5 เท่า ของค่า W รวมนั้นๆ
จาก ตัวอย่างที่ 1 อาจมีโอกาสเปิดทีวี,พัดลม,หลอดไฟทั้ง3หลอดและชาร์จโทรศัพท์ พร้อมกันได้ เราก็เอาค่า W ของแต่ละ
อุปกรณ์มารวมกัน จะได้ 50 + 50 + (18 x 3) + 50 = 204 W ดังนั้น ควรใช้ Inverter ขนาด 600 – 1,000 W ส่วนจะใช้กี่ V นั้นก็
แล้วแต่ระบบที่ท่านออกแบบใว้ครับ
จาก ตัวอย่างที่ 2 อาจมีโอกาสเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดพร้อมกันได้ เราก็เอาค่า W ของแต่ละอุปกรณ์มารวมกัน จะได้
70 + (50 x 2) + (18 x 12) + 100 + 800 + 150 + 80 + 50 = 1,566 W ดังนั้น ควรใช้ Inverter ขนาด 4,500 – 5,000 W ส่วนจะ
ใช้กี่ V นั้นก็แล้วแต่ระบบที่ท่านออกแบบใว้ ถ้าใช้ Inverter เครื่องเดียวเลยจะต้องเป็นชนิด Pure Sine Wave
ซึ่งราคาประมาณ 4 – 8 หมื่นบาท แล้วแต่คุณภาพ แต่เพื่อความประหยัด ผมจึงขอแนะนำให้ใช้ Inverter 2 เครื่องแทนครับ
ดังนี้
– Inverter 1,000 W แบบ Pure Sine Wave ราคาประมาณ 8,000 – 20,000 บาท สำหรับตู้เย็น,ปั๊มน้ำและ Computer
– Inverter 3,000 W แบบ Modifier Sine Wave ราคาประมาณ 8,000 – 9,000 บาท สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
(ประหยัดได้ตั้งหลายพันบาทครับ เวลามีเครื่องใดเสีย ก็ยังมีอีกเครื่องที่ยังใช้ได้ด้วย)
4. การคำนวณหาขนาดแบตเตอรี่
ตัวแปรที่เป็นตัวกำหนดขนาดแบตเตอรี่ คือ Lode ครับ ว่าต้องการกำลังไฟเท่าไหร่ในแต่ละช่วงเวลาที่ต้องการ
ขนาดแบตเตอรี่ สามารถคำนวณได้จากสูตร
ขนาดแบตเตอรี่ = กำลังไฟฟ้าที่ Lode ต้องการ x ระยะเวลาที่ต้องการใช้งาน /
แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ x ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ x ประสิทธิภาพของ Inverter
โดย
* ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ ถ้าใช้แบตเตอรี่รถยนต์ = 0.60 ถ้าใช้แบตเตอรี่ชนิด Deep Cycle = 0.80
* ประสิทธิภาพ Inverter (คุณภาพดี) = 0.85
จาก ตัวอย่างที่ 1 ความต้องการกำลังไฟต่อวันรวม 1,110 W และใช้แบตเตอรี่ 12 V ธรรมดา ดังนั้น
ขนาดของแบตเตอรี่ = 1110 / 12 x 0.6 x 0.85 = 181.37 Ah
นั่นคือต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดประมาณ 12 V 180 Ah หรือมากกว่า อาจใช้ลูกใหญ่ลูกเดียวเลย(แต่ไม่แนะนำ) หรือ
ใช้แบตเตอรี่ 12 Vลูกเล็ก 2-3ลูก ต่อขนานกันให้ได้ความจุประมาณนั้นครับ
จาก ตัวอย่างที่ 2 ความต้องการกำลังไฟต่อวันรวม 5,582 W และใช้แบตเตอรี่ 12 V Deep Cycle ดังนั้น
ขนาดของแบตเตอรี่ = 5582 / 12 x 0.8 x 0.85 = 684 Ah
นั่นคือต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดประมาณ 12 V 684 Ah หรือมากกว่า
กรณีออกแบบระบบเป็น ระบบ 24 V สามารถคำนวณหาขนาดแบตได้ดังนี้
ขนาดของแบตเตอรี่ = 5582 / 24 x 0.8 x 0.85 = 342 Ah
นั่นคือต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดประมาณ 24 V 342 Ah หรือมากกว่า ครับ
5. ขนาดของสายไฟ
โดยทั่วไปนั้น เราไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสียของกำลังไฟฟ้าในสายไฟมากกว่า 5% ดังนั้นในระบบ 12 V DC ของ
ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เราจะต้องไม่ให้ตกมากกว่า 0.6 V หรือถ้าเป็นระบบ 24 V DC ก็ต้องไม่ให้ตก
มากกว่า 1.2 V จากตารางด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างขนาดสายไฟที่เหมาะสมกับระบบ 12 V DC
Voltage Loss Per 100m Of Wire Run
(Volts Per 200m Of Wire) |
|||
Flow
(Amps)
|
Wire Size (mm2) | ||
1.5 | 2.5 | 4.0 | |
0.1 | 0.21 | 0.14 | 0.08 |
0.2 | 0.43 | 0.27 | 0.17 |
0.3 | 0.64 | 0.41 | 0.25 |
0.4 | 0.86 | 0.54 | 0.34 |
0.5 | 1.07 | 0.68 | 0.42 |
0.6 | 1.29 | 0.81 | 0.51 |
0.7 | 1.50 | 0.95 | 0.59 |
0.8 | 1.72 | 1.08 | 0.68 |
0.9 | 1.93 | 1.22 | 0.76 |
1.0 | 2.15 | 1.35 | 0.85 |
2.0 | 4.29 | 2.70 | 1.69 |
3.0 | 6.44 | 4.05 | 2.54 |
4.0 | 8.58 | 5.41 | 3.38 |
5.0 | 10.73 | 6.76 | 4.23 |
6.0 | 12.83 | 8.11 | 5.08 |
7.0 | 15.02 | 9.46 | 5.92 |
8.0 | 17.16 | 10.81 | 6.77 |
9.0 | 19.31 | 12.16 | 7.62 |
10.0 | 21.45 | 13.51 | 8.46 |
ยกตัวอย่าง สมมุติว่าเราติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ห่างจาก Solar Charge Controller ที่ระยะ 8 เมตร และมีกระแสใหล
ประมาณซัก 6 A เมื่อดูจากตารางจะพบว่าถ้าเราใช้สายทองแดงขนาด 1.5 mm แรงดันไฟฟ้าสูญเสียในสายระยะ
100 เมตร เท่ากับ 12.83 V (ตีไปซะ 13 นะครับ) แต่เราเดินสายเพียง 8 เมตร ดังนั้นแรงดันไฟฟ้าที่สูญเสียในสาย
จะเท่ากับ 8 x 13 / 100 = 1.04 ซึ่งเกินกว่าค่าที่เรายอมรับได้(คือ 0.6 V) แต่ถ้าเราเปลี่ยนมาเป็นสายไฟฟ้าขนาด 2.5 mm
แรงดันไฟฟ้าที่สูญเสียในสายจะเท่ากับ 8 x 8 / 100= 0.64 ซึ่งใกล้เคียงกับค่าที่เราต้องการ
และจากประสบการณ์ในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ผมแนะนำให้ท่านเลือกใช้สายอ่อนครับ เพราะหากท่านใช้สาย
แข็ง(สายที่ใช้เดินไฟตามบ้าน)จะมีปัญหาเรื่องการต่อสายและการเข้าสายกับ terminal box ครับ จะเป็นสายอ่อนแบบคู่
หรือเดี่ยวหรือจะเป็นสายVCT เลยก็ดีครับ
ที่มาบทความ
http://www.eastern-energy.net/article-th-12590-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%93+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C.html (บริษัท อิสต์เทิร์น เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด)
http://www.prigpiroot.com/?cid=496712 (ร้านบ้านนาโซล่าเซลล์)
ช่างไฟฟ้ามืออาชีพ ทีมงานมีฝีมือมาตราฐานไฟฟ้า เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง รับแก้ไขระบบไฟฟ้า3เฟส ระบบอินเตอร์เน็ต (Network) ระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) โรงงานขานดเล็ก กลางและใหญ่ บ้าน อาคาร สำนักงานทุกชนิด
ซีซีทีวี แอนด์ ไอที เซอร์วิส: ระบบไฟฟ้า 3เฟสโรงงาน งานIT กล้องวงจรปิดcctvเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง
ติดต่อที่: 088-654-4163 พี่หนิง , 098-696-4544 พี่ต้อม
อีเมลล์: cctv.onsite@gmail.com , com.lamphun@gmail.com
บริการงานระบบไฟ 3เฟส ไฟฟ้าโรงงาน ลำพูน เชียงใหม่
งาน ซ่อมไฟฟ้าเชียงใหม่ เดินสายไฟ บริการตรวจ,เช็ค,ซ่อมระบบไฟฟ้า แก้ไขสายไฟชำรุด ปลั๊กรั่ว เบรกเกอร์ตัด ไฟช็อต ไฟรั่ว ไฟดูด เพิ่มปลั๊ก ย้ายสวิทซ์ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด สำหรับท่านที่ต้องการเพิ่มเติมหรือปรับปรุงระบบไฟฟ้า ทางเราก็มีทีมช่างไว้คอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานวางระบบไฟฟ้า ระบบอินเตอร์เน็ต (Network) ระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) บ้าน อาคาร สำนักงานทุกชนิด
บริษัทรับเหมาไฟฟ้าเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน
cctvanditservice.com cctvanditsupport.com jccomputer-lamphun.compg8injv'[yom7d =jk’9bf9yh’d]hv’;’0ixbfg=up’.s,j
งานของทางบริษัทด้านต่างๆ ช่างรับเหมาช่วง รับเป็นซัพงาน ซัพคอนแทรค Sub-Contract on-siteที่เชียงใหม่-ลำพูน-ลำปาง =jk’waahk]ero (งานจ้างเหมา8จังหวัดภาคเหนือ):jv,,nv5nv]er^og=up’.s,j it[[waahk
g=up’.s,j d]hv’;’0ixbf g=up’.s,j iy[9bf9yh’glkwaahkf7’g,owa