ทีมงานช่างไฟฟ้าดึงเมนไฟฟ้า 3 เฟสสายเบอร์ 95 ระบบโซล่าเซลล์ กับหม้อแปลงไฟฟ้า500kVA 3 Phase 22 KV ระยะทางกว่า 1,500 เมตร ที่แม่ริม จ.เชียงใหม่

ตุลาคม 29, 2018 Off By admin

ทีมงานช่างไฟฟ้าดึงเมนไฟฟ้า 3 เฟสสายเบอร์ 95 ระบบโซล่าเซลล์ กับหม้อแปลงไฟฟ้า500kVA 3 Phase 22 KV ระยะทางกว่า 1,500 เมตร ที่แม่ริม จ.เชียงใหม่

-งานเดึงเมนไฟฟ้า ระบบโซล่าเซลล์  ใช้สายเบอร์ 95 ยาวกว่า 1500เมตร เสาไฟ 40 ต้น ใช้เวลาทำงาน 7-15วัน

ติดต่อที่: 088-654-4163 พี่หนิง , 098-696-4544 พี่ต้อม
เวปผลงานมากมาย: www.cctvanditservice.com

วิธีการคำนวณ และ ออกแบบระบบเซลล์แสงอาทิตย์

        ก่อนการตัดสินใจซื้อแผงโซลาร์เซลล์ เราควรทราบถึงระบบที่เราต้องการเพื่อให้การลงทุนที่คุ่มค่าและเหมาะสม ผู้ใช้ควรต้องรู้ ความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวันและสถานที่ติดตั้ง  จึงจะสามารถคำนวณส่วนประกอบของระบบได้ ซึ่งปกติเราควรว่าอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่ละชนิดใช้พลังงานเท่าใด (วัตต์ หรือ Watt)  และเราต้องการเปิดใช้งานนานกี่ชั่วโมงต่อวัน  รวมถึงในกรณีที่แผงเซลล์แสง   อาทิตย์ไม่สามารถรับแสงเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าได้  ซึ่งต้องใช้พลังงานสำรองที่ได้จากแบตเตอรี่ว่าสามารถใช้ได้นานเท่าใด
ตัวอย่าง  บ้านหลังหนึ่งต้องใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ไปใช้กับหลอดไฟ ฟลูออเรสเซนต์ชนิดมีบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ในตัว จำนวน 2 ดวง (18W X 2 ) เป็นเวลา 6  ชั่วโมงต่อวัน, โทรทัศน์สี 21 นิ้ว (120 W) ประมาณ 3  ชั่วโมงต่อวัน
สิ่งที่ต้องใช้ในระบบเซลล์แสงอาทิตย์ประกอบด้วย
1) เซลล์แสงอาทิตย์
2) เครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้า (Charge Controller)
3) แบตเตอรี่ (Battery)
4) เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)
สูตรการคำนวณหาขนาดของระบบ
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)
        จะทำหน้าที่แปลงไฟฟ้า จากแบตเตอรี่ 12 โวลท์ เป็น 220 โวลท์ ซึ่งควรมีขนาดกำลังเพียงพอที่จะจ่ายไฟฟ้าให้แก่อุปกรณ์  จะได้

                                       ขนาด ของเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า   = (18 W X 2 ดวง) + (120 W)
                                                                                            = 156 W
        ดังนั้นขนาดของเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า ควรมีขนาด  156 W แต่ควรมีขนาดสูงกว่า สำหรับขนาดที่เหมาะควรใช้  ขนาด  200 W  ซึ่ง ใช้กับแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์
แบตเตอรี่ (Battery)
        จะทำหน้าที่เก็บสำรองไฟฟ้า ในเวลาที่แผงโซลาร์ไม่สามรถรับแสงได้ (เวลากลางคืน) แบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับการใช้งานในระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ควรใช้แบตเตอรี่ชนิด Deep Cycle แต่จะมีราคาสูง ซึ่งเราสามารถเลือกใช้กับแบตเตอรี่ชนิดอื่นแทนได้ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ หรือ แบตเตอรี่แห้ง (Sealed Lead Acid Battery) ได้ ซึ่งจะมีราคาถูกกว่า
ขนาดกระแส/ชั่วโมง ของแบตเตอรี่สามารถคำนวณได้จาก
     Ah = ค่าพลังงานรวม / [แรงดันไฟฟ้าแบตเตอรี่ X 0.6 (% การใช้งานกระแสไฟฟ้าที่อยู่ในแบตเตอรี่) X 0.85 (ประสิทธิภาพของ Inverter)]
          = {( 18W X  2 ดวง) X 6 ชั่วโมง} + {(120 W) X 3 ชั่วโมง} / [12 โวลต์ X 0.6 X 0.85]
          = 94.117 Ah
        ดังนั้นขนาดของแบตเตอรี่ที่ใช้จะเป็นขนาด 12 โวลต์ 96.08 Ah หรือมากกว่า ฉะนั้นควรใช้ขนาดรุ่น 12 โวลต์ 105Ah หรือ 125Ah
เครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้า (Charge Controller)
        จะทำหน้าที่ควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่ จะทำให้ยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ ซึ่งต้องมีขนาดเท่ากับหรือมากกว่า กระแสไฟฟ้า (Amp) ที่ไหลผ่านจากแผงโซลาร์เซลล์สู่แบตเตอรี่ดังนั้น  ขนาดของเครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้า ควรมีขนาดเกินกระแสไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์
เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell)
        ขนาดของแผง  =  ค่าการใช้พลังงานรวม / 5 ชั่วโมง (ปริมาณแสงอาทิตย์ที่น่าจะได้ใน 1 วัน)
                            = {(18 W X 2 ดวง) X 6 ชั่วโมง} + {(120 W) X 3 ชั่วโมง} / 5 ชั่วโมง
                            = 115.2 Ah
        ดังนั้น ขนาดของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ต้องใช้ คือ ขนาด 12 โวลต์ 115.2  วัตต์หรือมากกว่า
หมายเหตุ:  ควรมีพลังงานสำรองไว้ใช้ในกรณีที่แผงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่สามารถผลิตพลังงาน ไฟฟ้าได้ เช่น  เวลาที่ฝนตกหรือไม่มีแสงอาทิตย์ ก็ควรจะเพิ่มขนาดของแผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่เพื่อใช้ในการเก็บพลังงาน สำรอง

***********************************************************************************************************************************

1. หลักการคำนวณหาขนาดแผงโซล่าเซลล์
        ขนาดแผงโซล่าเซลล์ คือ ขนาดของ Watt นะครับ ไม่ใช่ขนาดกว้าง-ยาวของแผง โดยตัวแปรที่จะเป็นผู้กำหนดขนาด
แผงโซล่าเซลล์คือ “ค่า Watt รวมของเครื่องใช้ไฟฟ้า”ที่จะใช้ในบ้านในแต่ละวันครับ
        เริ่มต้น คือ ดูเสียก่อนว่าเราอยากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้างในบ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ตรงจุดนี้แสดงถึงความต้องการของ
แต่ละคนที่แตกต่างกัน และเป็นตัวแปรสำคัญเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย เอาเป็นว่า ใครที่มีความต้องการความสดวกสบายเยอะ
ก็ต้องยอมจ่ายมากหน่อยเท่านั้นเองครับ ตัวอย่างการคำนวณ

 

ตัวอย่างที่ 1
    – ทีวี 14 นิ้ว 1 เครื่อง เปิดประมาณ 5 ชั่วโมงต่อวัน
    – หลอดไฟตะเกียบ 3 หลอด / เปิดประมาณ 4 ชั่วโมง จำนวน 2 หลอด , เปิดใว้ทั้งคืนจำนวน 1 หลอด
    – ชาร์จโทรศัพท์  ชาร์จไฟฉาย
ความต้องการไฟฟ้าสำหรับ

    – วิทยุเครื่องเล็กๆ
การคำนวณ
    – ทีวี 14 นิ้ว ต้องการกำลังไฟประมาณ 50 Wต่อชั่วโมง เปิด 5 ชั่วโมงต่อวัน ต้องใช้กำลังไฟทั้งหมด  50 x 5 = 250 W ต่อ วัน
    – พัดลมตั้งพื้น ต้องการกำลังไฟประมาณ 50 Wต่อชั่วโมง เปิด 8 ชั่วโมงต่อวัน ต้องใช้กำลังไฟทั้งหมด  50 x 8 = 400 W ต่อ วัน
    – หลอดตะเกียบ ยกตัวอย่างหลอด 18 W ต้องการกำลังไฟทั้งหมด (18 x 2 x 4)+(18 x 1 x 12) = 360 W ต่อ วัน
    – เครื่องชาร์จโทรศัพท์ชาร์ไฟฉาย คิดรวมๆ 50W ต่อวัน
    – วิทยุเล็ก คิดรวม 50W ต่อวัน
        นำค่ารวมทั้งหมดมารวมกัน ดังนี้ 250 + 400 + 360 + 50 + 50 = 1,110 W ต่อวัน
        นั่นคือ เราต้องการกำลังไฟฟ้าใช้ในบ้าน 1,110W ต่อวัน
        ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = กำลังไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน / ชั่วโมงแดด (เอาซัก 6 ชั่วโมงต่อวันละกันครับ)
        ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = 1,110 / 6 = 185 W
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณ 9,000-16,000 บาท แตกต่างกันตามคุณภาพของแผงโซล่าเซลล์ครับ

ตัวอย่างที่ 2
ความต้องการไฟฟ้าสำหรับ
    – ทีวี 21 นิ้ว 1 เครื่อง เปิดประมาณ 6 ชั่วโมง/วัน
    – พัดลมตั้งพื้น 2 เครื่อง เปิดประมาณ 8 ชั่วโมง/วัน/เครื่อง
    – หลอดไฟตะเกียบ 12 หลอด / เปิดประมาณ 5 ชั่วโมง จำนวน 8 หลอด , เปิดใว้ทั้งคืนจำนวน 2 หลอด
    – ตู้เย็น 5-7 คิว     
    – หม้อหุงข้าว
    – ปั๊มน้ำขนาดเล็กใช้ในบ้าน
    – คอมพิวเตอร์ 
    – ชาร์จโทรศัพท์ ชาร์จไฟฉาย
การคำนวณ
    – ทีวี 21 นิ้ว 1 เครื่อง เปิดประมาณ 6 ชั่วโมง/วัน  (80 W x 6 = 480 W)
    – พัดลมตั้งพื้น 2 เครื่อง เปิดประมาณ 8 ชั่วโมง/วัน/เครื่อง (50 W x 2 x 8 = 800 W)
    – หลอดไฟตะเกียบ 12 หลอด / เปิดประมาณ 5 ชั่วโมง จำนวน 8 หลอด , เปิดใว้ทั้งคืนจำนวน 2 หลอด (18 W x 8 x 5)+(18 W x 2 x 12) = 1152 W
    – ตู้เย็น 5-7 คิว (100 W x 10 = 1000 W) ตู้เย็นไม่ได้ทำงานตลอดเวลา เลยคิดที่ 10 ชั่วโมงต่อวันครับ
    – หม้อหุงข้าว คิดรวม 1500 W
    – ปั๊มน้ำขนาดเล็กใช้ในบ้าน คิดรวม 250 W
    – คอมพิวเตอร์  คิดรวม 300 W
    – ชาร์จโทรศัพท์ ชาร์จไฟฉาย คิดรวม 50 W
        นำค่ารวมทั้งหมดมารวมกัน ดังนี้ 480 + 800 + 1152 + 50 + 1000 + 1500 + 250 + 300 + 50 = 5,582 W ต่อวัน
        นั่นคือ เราต้องการกำลังไฟฟ้าใช้ในบ้าน 5,582 W ต่อวัน
        ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = กำลังไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน / ชั่วโมงแดด (เอาซัก 6 ชั่วโมงต่อวัน)
        ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = 5,582 / 6 = 930.33 W
นั่นคือเราต้องใช้แผงโซล่าเซลล์อย่างน้อย 930 W ขึ้นไปครับ
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณ 45,000 – 80,000 บาท แตกต่างกันตามคุณภาพของแผงครับ

2. หลักการคำนวณเครื่องควบคุมการชาร์จ
        สำหรับเครื่องควบคุมการชาร์จนั้น ส่วนมากเราจะคำนวณหาค่า A ที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ในระบบได้
ตัวแปรที่จะเป็นตัวกำหนดคือ
        1. ขนาดของแผงโซล่าเซลล์ ทั้งค่า W , A และ V โดยปกตินั้นค่าทั้ง 3 จะสัมพันธ์กันอยู่แล้ว เราอาจใช้แค่ W และ V
มาใช้ในการคำนวณออกแบบก็ได้ โดยใช้สูตร W = V x A  หรือ A = W / V
        2. ขนาดความต้องการ A ของ Lode ที่จะนำมาต่อเข้ากับเครื่องควบคุมนี้

จาก ตัวอย่างที่ 1 ที่ต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ขนาด 185 W เราสามารถคำนวณหาขนาดเครื่องควบคุมการชาร์จได้ดังนี้
    – จากสูตร A = W / V กรณีที่เป็นแผงโซล่าเซลล์ 12V แทนค่าลงสูตร A = 185 / 12 = 15.4
        นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 15.4 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 20 A  12 V ครับ
        นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 7.7 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 10 A  24 V ครับ
จาก ตัวอย่างที่ 2 ที่ต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ขนาด 930 W เราสามารถคำนวณหาขนาดเครื่องควบคุมการชาร์จได้ดังนี้
        นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 77.5 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 80 A  12 V ครับ
        นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 38.7 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 40 A  24 V ครับ
        นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 19.3 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 20 A  48 V ครับ
     แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแผงโซล่าเซลล์แผงใดเป็นแผงระบบ 12 V หรือ 24 V
ให้ใช้โวลต์มิเตอร์วัดครับ หรือง่ายๆให้ดูใต้แผงโซล่าเซลล์นั่นแหละ ตรงค่า Voc ครับ
    – แผงโซล่าเซลล์ระบบ 12 V ค่า Voc ระบุช่วง 18 V – 23 V หากใช้มิเตอร์วัดแผงโซล่าเซลล์ตอนมีแดดส่อง
จะอ่านค่าได้ประมาณ 18 V – 23 V เช่นกัน วัดในร่มชายคาที่ด้านนอกยังมีแดดอยู่หรือตอนเช้าตรู่ที่ยังไม่มีแดด(แต่ไม่มืด)
จะอ่านค่าได้ประมาณ 16 V – 18 V (ถ้าอ่านค่าได้น้อยกว่านี้ถือว่าแผงโซล่าเซลล์คุณภาพต่ำมาก หรือ เสียไปแล้ว)
    – แผงโซล่าเซลล์ระบบ 24 V ค่า Voc ระบุช่วง 36 V – 45 V หากใช้มิเตอร์วัดแผงโซล่าเซลล์ตอนมีแดดส่อง
จะอ่านค่าได้ประมาณ 36V-45V เช่นกันครับ

3. การคำนวณขนาดเครื่องแปลงไฟ (Inverter)
        เบื้องต้นนั้นท่านต้องทราบดีว่า ระบบโซล่าเซลล์ของท่านเป็นระบบอะไร 12 V , 24 V หรือ 48 V เพราะจะเป็นตัวแปรแรกใน
การเลือกใช้ Inverter ส่วนอีกตัวแปรก็คือค่า W รวมของ Lode ที่คาดว่าจะมีโอกาสเปิดพร้อมกัน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง แล้วเผื่อใว้
อีก 3-5 เท่า ของค่า W รวมนั้นๆ
        จาก ตัวอย่างที่ 1 อาจมีโอกาสเปิดทีวี,พัดลม,หลอดไฟทั้ง3หลอดและชาร์จโทรศัพท์ พร้อมกันได้ เราก็เอาค่า W ของแต่ละ
อุปกรณ์มารวมกัน จะได้ 50 + 50 + (18 x 3) + 50 = 204 W ดังนั้น ควรใช้ Inverter ขนาด 600 – 1,000 W ส่วนจะใช้กี่ V นั้นก็
แล้วแต่ระบบที่ท่านออกแบบใว้ครับ
        จาก ตัวอย่างที่ 2 อาจมีโอกาสเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดพร้อมกันได้ เราก็เอาค่า W ของแต่ละอุปกรณ์มารวมกัน จะได้
70 + (50 x 2) + (18 x 12) + 100 + 800 + 150 + 80 + 50 = 1,566 W ดังนั้น ควรใช้ Inverter ขนาด 4,500 – 5,000 W ส่วนจะ
ใช้กี่ V นั้นก็แล้วแต่ระบบที่ท่านออกแบบใว้ ถ้าใช้ Inverter เครื่องเดียวเลยจะต้องเป็นชนิด Pure Sine Wave
ซึ่งราคาประมาณ 4 – 8 หมื่นบาท แล้วแต่คุณภาพ แต่เพื่อความประหยัด ผมจึงขอแนะนำให้ใช้ Inverter 2 เครื่องแทนครับ
ดังนี้
    – Inverter 1,000 W แบบ Pure Sine Wave ราคาประมาณ 8,000 – 20,000 บาท สำหรับตู้เย็น,ปั๊มน้ำและ Computer
    – Inverter 3,000 W แบบ Modifier Sine Wave ราคาประมาณ 8,000 – 9,000 บาท สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
(ประหยัดได้ตั้งหลายพันบาทครับ เวลามีเครื่องใดเสีย ก็ยังมีอีกเครื่องที่ยังใช้ได้ด้วย)

4. การคำนวณหาขนาดแบตเตอรี่
        ตัวแปรที่เป็นตัวกำหนดขนาดแบตเตอรี่ คือ Lode ครับ ว่าต้องการกำลังไฟเท่าไหร่ในแต่ละช่วงเวลาที่ต้องการ
ขนาดแบตเตอรี่ สามารถคำนวณได้จากสูตร
ขนาดแบตเตอรี่ = กำลังไฟฟ้าที่ Lode ต้องการ x ระยะเวลาที่ต้องการใช้งาน  /
                           แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ x ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ x ประสิทธิภาพของ Inverter
โดย
    * ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ ถ้าใช้แบตเตอรี่รถยนต์ = 0.60 ถ้าใช้แบตเตอรี่ชนิด Deep Cycle = 0.80
    * ประสิทธิภาพ Inverter (คุณภาพดี) = 0.85


        จาก ตัวอย่างที่ 1 ความต้องการกำลังไฟต่อวันรวม 1,110 W  และใช้แบตเตอรี่ 12 V ธรรมดา ดังนั้น
ขนาดของแบตเตอรี่ = 1110 / 12 x 0.6 x 0.85 = 181.37 Ah
นั่นคือต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดประมาณ 12 V  180 Ah หรือมากกว่า อาจใช้ลูกใหญ่ลูกเดียวเลย(แต่ไม่แนะนำ) หรือ
ใช้แบตเตอรี่ 12 Vลูกเล็ก 2-3ลูก ต่อขนานกันให้ได้ความจุประมาณนั้นครับ
        จาก ตัวอย่างที่ 2 ความต้องการกำลังไฟต่อวันรวม 5,582 W  และใช้แบตเตอรี่ 12 V Deep Cycle ดังนั้น
ขนาดของแบตเตอรี่ = 5582 / 12 x 0.8 x 0.85 = 684 Ah
นั่นคือต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดประมาณ 12 V  684 Ah หรือมากกว่า 
กรณีออกแบบระบบเป็น ระบบ 24 V สามารถคำนวณหาขนาดแบตได้ดังนี้
ขนาดของแบตเตอรี่ = 5582 / 24 x 0.8 x 0.85 = 342 Ah
นั่นคือต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดประมาณ 24 V  342 Ah หรือมากกว่า ครับ

5. ขนาดของสายไฟ
        โดยทั่วไปนั้น เราไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสียของกำลังไฟฟ้าในสายไฟมากกว่า 5% ดังนั้นในระบบ 12 V  DC  ของ
ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เราจะต้องไม่ให้ตกมากกว่า 0.6 V หรือถ้าเป็นระบบ 24 V  DC ก็ต้องไม่ให้ตก
มากกว่า 1.2 V จากตารางด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างขนาดสายไฟที่เหมาะสมกับระบบ 12 V  DC


 

Voltage Loss Per 100m Of Wire Run

 

(Volts Per 200m Of Wire)

Flow

 

(Amps)

 

Wire Size (mm2)
1.5 2.5 4.0
0.1 0.21 0.14 0.08
0.2 0.43 0.27 0.17
0.3 0.64 0.41 0.25
0.4 0.86 0.54 0.34
0.5 1.07 0.68 0.42
0.6 1.29 0.81 0.51
0.7 1.50 0.95 0.59
0.8 1.72 1.08 0.68
0.9 1.93 1.22 0.76
1.0 2.15 1.35 0.85
2.0 4.29 2.70 1.69
3.0 6.44 4.05 2.54
4.0 8.58 5.41 3.38
5.0 10.73 6.76 4.23
6.0 12.83 8.11 5.08
7.0 15.02 9.46 5.92
8.0 17.16 10.81 6.77
9.0 19.31 12.16 7.62
10.0 21.45 13.51 8.46

 
ยกตัวอย่าง  สมมุติว่าเราติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ห่างจาก Solar Charge Controller ที่ระยะ 8 เมตร และมีกระแสใหล
ประมาณซัก 6 A เมื่อดูจากตารางจะพบว่าถ้าเราใช้สายทองแดงขนาด 1.5 mm แรงดันไฟฟ้าสูญเสียในสายระยะ
100 เมตร เท่ากับ 12.83 V (ตีไปซะ 13 นะครับ) แต่เราเดินสายเพียง 8 เมตร ดังนั้นแรงดันไฟฟ้าที่สูญเสียในสาย
จะเท่ากับ 8 x 13 / 100 = 1.04  ซึ่งเกินกว่าค่าที่เรายอมรับได้(คือ 0.6 V)  แต่ถ้าเราเปลี่ยนมาเป็นสายไฟฟ้าขนาด 2.5 mm
แรงดันไฟฟ้าที่สูญเสียในสายจะเท่ากับ 8 x 8 / 100= 0.64  ซึ่งใกล้เคียงกับค่าที่เราต้องการ
                             
       และจากประสบการณ์ในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์  ผมแนะนำให้ท่านเลือกใช้สายอ่อนครับ เพราะหากท่านใช้สาย
แข็ง(สายที่ใช้เดินไฟตามบ้าน)จะมีปัญหาเรื่องการต่อสายและการเข้าสายกับ terminal box ครับ จะเป็นสายอ่อนแบบคู่
หรือเดี่ยวหรือจะเป็นสายVCT เลยก็ดีครับ

ที่มาบทความ

http://www.eastern-energy.net/article-th-12590-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%93+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C.html (บริษัท อิสต์เทิร์น เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด)

http://www.prigpiroot.com/?cid=496712 (ร้านบ้านนาโซล่าเซลล์)


ช่างไฟฟ้ามืออาชีพ ทีมงานมีฝีมือมาตราฐานไฟฟ้า เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง รับแก้ไขระบบไฟฟ้า3เฟส ระบบอินเตอร์เน็ต (Network) ระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) โรงงานขานดเล็ก กลางและใหญ่ บ้าน อาคาร สำนักงานทุกชนิด

ซีซีทีวี แอนด์ ไอที เซอร์วิส: ระบบไฟฟ้า 3เฟสโรงงาน งานIT กล้องวงจรปิดcctvเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง
ติดต่อที่: 088-654-4163 พี่หนิง  , 098-696-4544 พี่ต้อม
อีเมลล์: cctv.onsite@gmail.com , com.lamphun@gmail.com
facebook-link               

บริการงานระบบไฟ 3เฟส  ไฟฟ้าโรงงาน ลำพูน เชียงใหม่
งาน ซ่อมไฟฟ้าเชียงใหม่ เดินสายไฟ บริการตรวจ,เช็ค,ซ่อมระบบไฟฟ้า แก้ไขสายไฟชำรุด ปลั๊กรั่ว เบรกเกอร์ตัด ไฟช็อต ไฟรั่ว ไฟดูด เพิ่มปลั๊ก ย้ายสวิทซ์ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด สำหรับท่านที่ต้องการเพิ่มเติมหรือปรับปรุงระบบไฟฟ้า ทางเราก็มีทีมช่างไว้คอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานวางระบบไฟฟ้า ระบบอินเตอร์เน็ต (Network) ระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) บ้าน อาคาร สำนักงานทุกชนิด

บริษัทรับเหมาไฟฟ้าเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน

cctvanditservice.com cctvanditsupport.com jccomputer-lamphun.compg8injv'[yom7d =jk’9bf9yh’d]hv’;’0ixbfg=up’.s,j

งานของทางบริษัทด้านต่างๆ ช่างรับเหมาช่วง รับเป็นซัพงาน ซัพคอนแทรค Sub-Contract on-siteที่เชียงใหม่-ลำพูน-ลำปาง =jk’waahk]ero (งานจ้างเหมา8จังหวัดภาคเหนือ):jv,,nv5nv]er^og=up’.s,j it[[waahk
g=up’.s,j d]hv’;’0ixbf g=up’.s,j iy[9bf9yh’glkwaahkf7’g,owa